ช่วงหลังๆ มานี่คุยกับเพื่อนๆ แล้วรู้สึกขัดข้องใจอะไรบางอย่างเวลาจะพูดถึงตัวเอง โดยเฉพาะเมื่อไปเทียบกับภาษาอังกฤษแล้ว เลยสงสัยนักว่าทำไมภาษาไทยมันมีหลายคำให้เรียกจังฟะ มีตั้งแต่โคตรไม่สุภาพ ถึงโคตรสุภาพ แถมขึ้นกับเวลา สถานที่ คนที่คุยด้วย อีกต่างหากจะคุยด้วยทีนี่ลำบากนิดๆ เวลาจะเล่าถึงเรื่องตัวเอง ลองไล่ดูละกันถ้าแบบสนิทกันมากๆ ก็มักใช้คำว่า “กู” บางทีพิมพ์กันก็เป็น “กรู” หรือไม่บางครั้งก็ “ตู” หรือ “ตรู” โอช่างหลากหลายเหลือเกิน หรือห่างเหินกันนิดก็จะเป็น ฉัน, ผม พอมีลำดับชั้นทางอายุก็กลายเป็น พี่, น้อง, อา, … ตามแต่ว่าอายุ และลำดับทางสายเลือดห่างจากคู่สนทนาแค่ไหน พอเป็นทางการมากๆ อาจมี”กระผม”, “ข้าพเจ้า” ขึ้นมาอีก หรือบางทีสับสนหนักก็ใช้ “เรา” ไปเลย
ลองมาดูภาษาอังกฤษมั่ง เท่าที่รู้มีสองคำ I กับ My แถมแยกหน้าที่กันชัดเจนว่าถ้าพูดถึงตัวเองเป็นคนทำใช้ I นะถ้าใช้คู่กับอย่างอื่นใช้ My นะ ไม่มีลำดับชั้นทางภาษาเหมือนไทย จะว่าเพราะประเทศไทยเรามีลำดับชั้นทางสังคม แต่อังกฤษมันก็มีนี่หว่า เอ๊ะ หรือว่าเพราะเราได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์ เลยแบ่งวรรณะทางภาษาเวลาคุยกัน แล้วทำไมระดับเดียวกันมันยังมีหลายคำด้วยเนี๊ยะ ช่างสับสนยิ่งนัก
ตอนนี้ก็เลยอยากรู้ว่า นอกจากภาษาไทยแล้ว มันมีภาษาอื่นที่มันเข้าใจยากอย่างนี้อีกหรือป่าว แล้วแต่ละคนเนี๊ยะ เวลาเรียกตัวเอง จะใช้คำอะไรกันบ้าง แต่ของผมแล้ว ใช้มันหมดทุกคำเลยหละ ^^!