Tag Archives | Actionscript

Cover popup

ไม่ได้เขียนถึง Actionscript นานจริงๆ ช่วงหลังเขียนมันเยอะมากจนกลับบ้าน ไม่อยากเขียนถึงอีกเลยทิ้งช่วงยาว เมื่อวานบ่นๆ ไปใน twitter จน @iporsut เตือนบอกว่าไม่ได้เขียนนานและ เลยเขียนต่อดีกว่า ช่วงหลังเริ่มเจอปัญหาแปลกๆ แต่วันนี้เอา Component ที่ทำแบบเร่งรีบมาให้ดูซะหน่อย หลังจากกลับมาเขียน Component นี้ทำให้รู้อะไรเพิ่มสองสามอย่าง Custom component ถ้าอยากให้ใส่ child component แบบ mxml เวลาเอาใช้ได้ต้องเขียนด้วย Actionscript เท่านั้น คนอื่นอาจเจอมาก่อนนานแล้ว แต่ผมพึ่งเคยเจออ่ะ -_-! เพราะแต่ก่อนจะเขียน Actionscript อย่างเดียวแต่ช่วงหลังจะใช้ mxml ขึ้นโครงก่อนว่า Component นี้จะมีอะไรบ้าง แล้วเขียน Actionscript source แยกไปอีกไฟล์ ก็เลยเกิดปัญหานี้ขึ้น เขียน State ด้วย Actionscript อย่างเดียว อันนี้ไว้เขียนแยกละกัน … การหา Component position ที่คลิก [...]

Read full story Comments { 0 }

ECMAScript3 ตอนที่ 3

ไม่ได้เขียนนานเนื่องจากความขี้เกียจ – -” เลยทิ้งมันไว้ซะนานขนาดนี้ วันนี้ก็เป็นโอกาสดีที่ว่าง ก็เลยทำต่อซะหน่อยก่อนจะขี้เกียจอีก ฮะๆๆ (วันนี้อาจเขียนอะไรเมินๆ แต่ถ้ามีเวลามากกว่านี้จะมานั่งเกลาภาษาอีกที >< “) Primitive และ Reference Values ใน ECMAScript ตัวแปรสามารถเก็บข้อมูลได้สองแบบคือแบบ Primitive กับ Reverence Primitive คือ ข้อมูลพื้นฐานต่างๆ ได้แก่ Undefined, Null, Boolean, String และ Numberโดยจะเก็บอยู่ใน Stack และสามารถเข้าถึงผ่านชื่อตัวแปรได้โดยตรง Reference คือ ข้อมูลที่ถูกเก็บไว้ใน Heap โดยตัวแปรจะเก็บเพียงแค่ตำแหน่งของวัตถุก้อนนั้นเท่านั้น เมื่อมีการกำหนดค่าให้กับตัวแปร ตัวแปลง ECMAScript ก็จะเอาค่ามาดูว่าเป็นประเภทใดระหว่าง Primitive หรือ Reference ถ้าเป็น Primitive ก็จะเอาไปเก็บไว้ใน Stack ที่ทำอย่างนี้เพราะว่าตัวแปรแบบ Primitive จะมีขนาดที่คงที่ ทำให้รู้ได้ว่าจะใช้พื้นที่เท่าไหร่ใน Stack เมื่อคำนวนแล้วนำไปเก็บใน [...]

Read full story Comments { 2 }

Java, Actionscript, Python

ช่วงนี้เขียนสามภาษามึนๆ เลยเขียนถึงซักหน่อย ทั้งสามภาษาจะบอกว่าแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงก็ได้ เริ่มจาก Java ที่มีโครงสร้างและข้อกำหนดต่างๆ มากมาย เรียกว่า ข้อผิดพลาดต่างๆ สามารถหาได้จากตอน Compile แทบทั้งหมด แม้ว่าตัวภาษาจะไม่สวยงามมากนัก เยิ่นเย้อนิดหน่อย (ก็ไม่หน่อยนะ จริงๆ ก็ขึ้นอยู่กับว่าคนออกแบบ คนเขียนนั่นแหละ) มีสัญลักษณ์ต่างๆ มากมาย (จริงอันนี้มันก็พอกันทั้งสามภาษานั่นแหละ) แต่ก็มีของเล่นต่างๆ ให้มากมายด้วยเช่นกัน (แต่อันนี้เป็นผลดีมาจากการที่ Java อยู่มานาน) สำหรับ Actionscript โครงสร้างภาษาต่างๆ มีลักษณะเหมือนทั้ง Java และ Python รวมกัน คือพวกขอบเขตของตัวแปร หรือ ฟังก์ชั่น อะไรก็ตามพวกนี้จะมีลักษณะเหมือน Java แต่พวก Object ต่างๆ จะคล้ายๆ กับ Python มากกว่า เลยไม่รู้จะบอกว่ามันง่ายหรือยากดี มันกึ่งๆอ่ะ คือ ทำมาให้หลายๆ อย่างสามารถตรวจสอบตั้งแต่ตอน Compile ได้ แต่ก็มีหลายอย่างที่ต้องกำหนดกันเอง เช่น [...]

Read full story Comments { 1 }

ECMAScript3 ตอนที่ 2

ทิ้งไปนาน เขียนต่อซะหน่อยเดี๊ยวลืม สำหรับตอนนี้ก็บอกกันตรงๆ เลยละกันว่าแปลมาจากหนังสือเล่มเดิมที่เคยบอกไปเมื่อตอนที่แล้ว สามบท เริ่มเลยละกัน Syntax พื้นฐานของ ECMAScript มีด้วยกันไม่กี่อย่างตามด้านล่างนี้คือ ทุกอย่าง case-sensitive เหมือนกับภาษา Java, C จริงๆ ข้อนี้ก็เหมือนกันเกือบทุกภาษาหละนะ ยกเว้น VB6 ไว้ภาษาที่ตรงข้าม(อาจมีภาษาอื่นอีกแต่ที่ผมเคยเจอมีอยู่ภาษาเดียว) ประเภทตัวแปรเปลี่ยนประเภทไปตามค่าที่ใส่เข้ามา (loosely type) โดยดูได้จากวิธีประกาศตัวแปรใน javascript ที่ไม่ต้องมีการบอกประเภทว่า ตัวแปรนี้เป็นชนิดไหน แต่ดูจากค่าที่ใส่เข้ามาได้เลย ถ้าค่าที่ใส่เป็นตัวเลข ตัวแปรนั้นก็จะเป็นประเภทตัวเลข สำหรับ Actionscript3 จะต่างจาก ECMAScript3 หน่อยคือ ตัวแปรสามารถกำหนดประเภทได้ โดยเมื่อประกาศประเภทไปแล้วก็จะไม่สามารถเปลี่ยนได้อีก แต่จะไม่ประกาศก็ได้ ดังนั้น Actionscript3 จึงมีทั้งสองแบบ โดยตัวอย่างวิธีประกาศตัวแปรใน ECMAScript3 คือ var color = “red”; var num = 25; var visible = [...]

Read full story Comments { 0 }