คราวที่แล้วเขียนไปแค่สี่ขั้นตอน แต่ถ้าใครลองโหลดไฟล์ที่ @iporsut แนบมาใน comment คงเห็นรายละเอียดที่มากกว่านั้นเยอะแยะเลย แต่ผมก็ได้แค่อ่านผ่านๆ นะ ยังไม่ได้ดูละเอียดเท่าไหร่ แหะๆ แต่วันนี้จะมาเขียนถึงขั้นลึกลับอีกขั้นนึงนั่นคือ measure() เพราะต้องใช้มันเข้าพอดี -_-” ปกติฟังก์ชั่นนี้จะไม่ค่อยต้องเขียนเองเท่าไหร่เพราะหน้าที่ของมันคือใช้บอกว่า component เรามีขนาดเท่าไหร่ แล้วให้ขั้นถัดไปคือ updateDisplayList เป็นคนวาด ซึ่งวิธีทำปกตินั้นก็ง่ายแสนง่ายคือเรียก component ลูกให้วัดค่าออกมาให้ แล้วก็จับมันบวกๆ ลบๆ กันแล้วส่งออกไป แต่มีปัญหากับผมอีกและ -_-” เพราะว่าถ้าหากเราตั้งขนาดของ component ลูกเป็น % แล้วหละก็มันก็มีบางอย่างที่คำนวนออกมาให้พลาดเหมือนกัน(จริงๆ ก็ไม่พลาดหรอกแต่ผลลัพธ์ที่ต้องการมันไม่ไช่อย่างนั้นหนะ) เช่น List ลองมาดูโจทย์ผมละกัน โจทย์ก็แสนจะง่ายดาย มี List ย่อยๆ หลายๆ List ที่แต่ละ List มีข้อมูลไม่เท่ากัน โดยต้องเอา List เหล่านั้นมารวมกันให้เป็น List ใหญ่ๆ ก้อนนึง อ๊ะ เหมือนธรรมดา ยังไม่หมดๆ [...]
UIComponent
ใน Flex เวลาจะใช้ชิ้นส่วนอะไรก็ตามชิ้นส่วนเหล่านั้นส่วนใหญ่จะมาจาก UIComponent ทั้งนั้น คราวนี้ก่อนที่มันจะวาดชิ้นส่วนขึ้นมาเป็นภาพมันดันมีขั้นตอนต่างๆ ที่คล้ายๆ Applet ซะนี่ลองดูลำดับตามด้านล่างละกัน Constructor CreateChildren CommitProperty UpdateDisplayList อาจจะมีมากกว่านี้แต่หลักๆ ที่จะเจอกันบ่อยๆ คือสี่ขั้นนี้แหละ เริ่มจาก Constructor ก่อนที่จะใช้กำหนดค่าเริ่มต้นต่างๆ ให้กับ Component อันนี้ก็ไม่ค่อยมีอะไร เพราะภาษาที่มีคลาสเกือบทุกภาษาก็คงมีเหมือนกัน ตัวถัดมาคือ CreateChildren จะถูกเรียกครั้งเดียวตอนที่เริ่มสร้าง Component โดยมีหน้าที่หลักๆ ก็คือเอาชิ้นส่วนย่อยๆ มาประกอบล่างเป็นชิ้นใหญ่ๆ เช่นฟอร์มที่ใช้ส่งข้อมูลต่างๆ ก็จะมีพวก Label, TextField, … ซึ่งจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างหรือขนาดอะไรอีก เอามาใส่ในขั้นนี้ให้หมด รวมถึงตอนกำหนด Event ต่างๆ ให้กับมันด้วย CommitProperty เป็นขั้นที่เตรียมวาดขึ้นหน้าจอแล้ว จริงๆ มีขั้นก่อนหน้านี้เล็กๆ น้อยๆ พอสมควรพวก Measure… ทั้งหลายแหละ ที่เอาไว้บอกว่า Component นี้จะมีขนาดเท่าไหร่แน่เวลาเอาไปประกอบกับชิ้นส่วนอื่น ซึ่งถ้าหากอยากเพิ่มความเร็วขึ้นอีกอาจจะต้องไปเขียนเพิ่ม(แต่ผมขี้เกียจอะนะ ขอใช้พวก VBox, [...]